สป.อว. ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการเร่งผลิตบัณฑิตสมรรถนะสูงตอบโจทย์ความต้องการ สถานประกอบการในพื้นที่ EEC
คณะกรรมการและคณะทำงานโครงการเร่งรัดและขยายผลการจัดหลักสูตรพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง
CWIE+EEC Model Type A (CWIE+EEC Model Type A Master Class) ในสถาบันอุดมศึกษา นำโดย ดร.อรสา
ภาววิมล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. และนายสมบัติ รุ่งรัศมี
ผู้อำนวยการกองยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา พร้อมด้วย ผู้แทน ทปอ.
ทั้ง 4 แห่ง และผู้แทน BOI ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ
ณ สถานประกอบการในพื้นที่ EEC ได้แก่ ชลบุรี
ระยองและฉะเชิงเทรา รวมทั้งจังหวัดสมุทราปราการ รวม 13 แห่ง ตั้งแต่วันที่ 15 - 31
สิงหาคม 2566 เพื่อเยี่ยมชมโรงงานและสถานที่ปฏิบัติงานของนักศึกษา รวมทั้งรับฟังปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
หารือแนวทางการร่วมออกแบบหลักสูตรและกระบวนการทำงานและการพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ
โดยนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้เข้าปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการเป็นระยะเวลา 6
เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 เป็นต้นมา
ในการลงพื้นที่ดังกล่าว นักศึกษาได้นำเสนอโครงงาน (Project) ที่เกิดจากความต้องการของสถานประกอบการ ซึ่งเป็นการพัฒนากระบวนการทำงานหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในบริษัท โดยนักศึกษาได้นำความรู้ทางวิชาการมาประยุกต์ใช้กับประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำงานจริงเพื่อให้ดำเนินการทำโครงงานสำเร็จลุล่วงตามระยะเวลาและเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งผู้ร่วมลงพื้นที่ฯ ได้มีการให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์กับนักศึกษา ในการพัฒนาทักษะทั้งด้าน Hard Skills และ Soft Skills รวมถึงการสอบถามความต้องการและความพึงพอใจของสถานประกอบการ ซึ่งโดยภาพรวมมีความพึงพอใจในพัฒนาการและการปฏิบัติงานของนักศึกษา รวมถึงเห็นว่าโครงงานที่นักศึกษากำลังดำเนินงานมีประโยชน์ต่อสถานประกอบการและสามารถนำไปต่อยอดได้ในอนาคต
วันที่ 15 สิงหาคม 2566 บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) จ.ระยอง หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
วันที่ 16 สิงหาคม 2566 บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) จ.ชลบุรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร (ต่อเนื่อง) สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
วันที่ 21 สิงหาคม 2566 บริษัท โออิชิ ฟู้ด เซอร์วิส จำกัด (บ้านบึง) จ.ชลบุรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่ 22 สิงหาคม 2566 บริษัท
โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด จ.สมุทรปราการ
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (1) สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (2) สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการผลิต มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง และบริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) จ.สมุทรปราการ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
วันที่ 23 สิงหาคม 2566 บริษัท
เอ็น พี เอ็ม อัลลิแอนซ์ คาสติ้ง จำกัด จ.ชลบุรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
มทร.ธัญบุรี
วันที่ 24 สิงหาคม 2566 โรงแรม เซ็นทารา พัทยา จ.ชลบุรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโรงแรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
วันที่ 25 สิงหาคม 2566 บริษัท เรวีม่า เอเชีย แปซิฟิก จำกัด จ.ชลบุรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ มหาวิทยาลัยบูรพา และบริษัท ยูเซ็น โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด จ.ชลบุรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
วันที่ 29 สิงหาคม 2566 บริษัท
โตไค ริคะ (ไทยแลนด์) จำกัด จ.ระยอง หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
วันที่ 30 สิงหาคม 2566 บริษัท
โสรัจจกิจ จำกัด จ.ฉะเชิงเทรา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
วันที่ 31 สิงหาคม 2566 บริษัท
ซัมมิท แหลมฉบัง โอโต บอดี้ เวิร์ค จำกัด จ.ชลบุรี หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
สาขายวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิตอัจฉริยะ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
และโรงแรม ฮิลตัน พัทยา จ.ชลบุรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี
สำหรับโครงการเร่งรัดและขยายผลการจัดหลักสูตรพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง
CWIE+EEC Model Type A (CWIE+EEC Model Type A Master Class) ในสถาบันอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนหลักสูตรตามแนวทางดังกล่าวในการผลิตบัณฑิตสมรรถนะสูงให้ตอบโจทย์ความต้องการของสถานประกอบการในฟื้นที่
EEC ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 มีหลักสูตรที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการจำนวน
19 หลักสูตร จาก 11 สถาบันอุดมศึกษา ครอบคลุม 5 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 1)
ยานยนต์สมัยใหม่ 2) การแปรรูปอาหาร 3) การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4) การบินและโลจิสติกส์ และ 5) เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
โดยมีนักศึกษาจำนวน 156 คน เข้าปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
44 แห่ง และในปีงบประมาณ 2567 สป.อว. ยังคงร่วมมือกับ EEC เพื่อเดินหน้าผลิตบัณฑิตสมรรถนะสูงเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของสถานประกอบการในพื้นที่ EEC ต่อไป